วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ควบคุมอาหารต้านความอ้วน















เหตุผลที่ต้องเลี่ยงหรือห้ามอาหารมันของทอด สำหรับคนที่ยังไม่เข้า

ใจว่าอาหารที่มีไขมันหรือน้ำตาลสูงทําให้อ้วนได้อย่างไรถ้าเห็นจํานวน

แคลอรีของอาหารแต่ละชนิดก็จะเข้าใจทันที


ก่อนอื่นมาดูว่าแคลอรีคืออะไรกันก่อน

แคลอรี (Calorie ย่อว่า cal) คือ หน่วยวัดพลังงานที่ได้จากอาหาร

แต่พลังงาน 1 แคลอรีนั้นเป็นหน่วยที่น้อยมาก จึงใช้หน่วยที่ใหญ่กว่า

คือกิโลแคลอรี (kcal) ฉะนั้นเวลาพูดถึงพลังงานที่ได้จากอาหารต้อง

ใช้หน่วยให้ถูก เช่น ข้าวหมูแดง 1 จาน ให้พลังงาน 537 กิโลแคลอรีี

ไม่ใช่ แคลอรี

ปัจจุบันนี้คนเริ่มหันมาสนใจแคลอรีในอาหารกันมากขึ้นอย่างบางรัฐ

ในสหรัฐอเมริกามีกฎหมายบังคับให้ร้านอาหารติดป้ายบอกแคลอรี

ในอาหารแต่ละจานเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลก่อนที่จะซื้อ

บริโภคกันแล้ว (แต่ร้านอาหารบางแห่งในบ้านเรามาแปลกกว่าคือรอ

ให้อิ่มก่อนค่อยแจ้งจํานวนแคลอรีให้ทราบอย่างนี้ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า

จะช่วยได้สักแค่ไหนเพราะตอนกินก็มักเพลิดเพลินจนลืมนึกถึง

แคลอรีเสียสนิท)


โดยเฉลี่ย ร่างกายคนเราต้องการแคลอรีต่อวันเพียงเล็กน้อย เช่น

ผู้หญิงก็แค่ 1,600 kcal/วัน ส่วนผู้ชายก็ราวๆ 2,000 kcal/วัน

ถ้ามากกว่านั้นพลังงานส่วนเกินจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมทําให้

อ้วน ซึ่งโอกาสที่คนเราจะได้รับแคลอรีเกินความต้องการในแต่ละวันนั้น

ง่ายมากเนื่องจากเราไม่ได้คำนึงถึงพลังงานในอาหารแต่ละจาน ว่าที่

เรากินเข้าไปมีจำนวนกี่กิโลแคลอรี เท่าที่สังเกต การกินของแต่ละคน

ส่วนใหญ่จะกินอาหารที่อยากจะกิน ไม่พอเท่านั้น เห็นอะไรอยากกิน

ก็จะซื้อไปกิน หรือที่เราๆเรียกกันว่า ตามใจปากนั่นเอง

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างจํานวนแคลอรีของอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
เห็นแล้วรับรองว่าต้องคิดหนักทีเดียวหากจะหยิบใส่เข้าปาก
ในคราวต่อไป



ใครที่ชอบอาหารทอดๆ มันๆ อาหารที่ปรุงด้วยกะทิ คุณรู้ไหมว่า
น้ำมัน
1 ช้อนชา ให้พลังงานเท่าไหร่ คําตอบก็คือ 45 kcal ซึ่งเท่ากับ
กะทิถึง
3 ช้อนชาปาท่องโก๋ 1 คู่ ให้พลังงาน 124 kcal, ขนมครก 1 คู่
ให้พลังงาน
97 kcal, สาคูไส้หมู 5 ลูก ให้พลังงาน 80 kcal

ถ้าแค่นี้ยังไม่ทําให้คุณรู้สึกตกใจ ลองมาดูกลุ่มเนื้อสัตว์ไขมันสูงต่อไปนี้บ้าง
ไส้กรอก
1⁄2 แท่ง, หมูย่าง 1 ช้อนกินข้าว, หนังหมู 1 ช้อนกินข้าว,
ซี่โครงหมู 1 ช้อนกินข้าว, หมูยอ 1 ช้อนกินข้าว, ไก่ติดหนัง 1 ช้อนกินข้าว,
หมูบด 1 ช้อนกินข้าว, แฮม 1⁄2 แผ่น, เนยแข็ง 1⁄2 แผ่น,
กุนเชียงไม่มัน
1 ช้อนกินข้าว ฯลฯ
เนื้อสัตว์ไขมันสูงที่ยกมาให้ดูข้างต้น เห็นปริมาณน้อยๆ อย่างนี้นี่แหละ
แต่ละอย่างให้พลังงานสูงถึง
50 kcal เลยทีเดียวแล้วในความเป็นจริง
ก็คงไม่มีใครกินน้อยขนาดนี้แน่ก็ลองคํานวณดูกันเอาเองว่าจะได้รับ
แคลอรีเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวันไปมากเพียงใด




ลองมาดูอาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ หรือขนมหวานต่าง ๆ
อย่าง
น้ำอัดลมเครื่องดื่มสุดโปรดของคนทั่วโลก 1 ประป๋อง (325 มล.)
ให้พลังงาน
240 kcal ถ้านิยมดื่มแบบเป็นขวด ( 290 มล.)
พลังงานที่ได้รับก็ยังสูง อยู่ดีคือ
174 kcal ลูกอม 2 เม็ดที่คุณรู้สึกว่า

จิ๊บจ๊อยเหลือเกิน - ให้พลังงานสูงถึง 63 kcal น้ำอ้อย (200 มล.)

ให้พลังงาน 152 kcal ขนมโดนัท 1 อัน- ให้พลังงาน 95 kcal


ที่หยิบมาให้ดูเป็นตัวอย่างแค่พอหอมปากหอมคอเพราะถ้าจะต้องแจงกัน

ทุกชนิด ทุกประเภทเห็นทีหน้ากระดาษคงจะไม่พอถึงกระนั้นก็เชื่อว่าน่าจะ

ทําให้คุณผู้อ่านได้ตระหนักว่า อาหารที่มีไขมันหรือน้ำตาลสูงนั้นเป็นศัตรู

กับการควบคุมน้ำหนักหรือการลดความอ้วนของคุณเพียงใด

รู้หลบรู้หลีกอาหารต้องห้ามที่มีแคลอรีสูงกันแล้วก็อย่าชะล่าใจกับเมนู

อาหารจานด่วนที่เรากินกันเป็นปกติในชีวิตประจําวันด้วยคนรุ่นใหม่สมัย

นี้ชีวิตต้องเร่งรีบแข่งขันกับเวลาจึงมักฝากท้องไว้กับอาหารตามสั่งที่มี

ให้เลือกมากมายแต่คุณผู้อ่านทราบหรือไม่อาหารบางรายการมีไขมัน

แอบแฝงที่จะทําให้คุณได้รับแคลอรีมากเกินจําเป็นหรือบางอย่างก็

ให้แคลอรีสูงอย่างที่คุณนึกไม่ถึงดังตารางข้างล่าง
























ไม่ทราบว่าจะตรงกับเมนูโปรดของใครบ้างหรือเปล่า ถ้าใช่ก็พยายาม
เลี่ยงๆ เสียบ้าง อย่ากินเพราะเอาง่ายเข้าว่า หรือเพื่อความอร่อยอย่าง
เดียว ควรเลือกกิน เมนูอื่นให้หลากหลายเข้าไว้ให้ได้ทั้งจํานวนแคลอรี

ที่เหมาะสม ตลอดจนคุณค่าทาง โภชนาการ


จะกินแต่ละมื้อให้คํานึงถึงแคลอรีในอาหารเอาไว้บ้างก็ดี
แต่ไม่ต้องละเอียดลออ นับกันทุกแคลอรีเป๊ะๆ ไม่อย่างนั้นอาจ
เครียดเกินไปจนพาลหมดอร่อย และ



สุดท้ายขอฝากเทคนิคการปรับเปลี่ยนนิสัยการกิน
เพื่อพิชิตอ้วน พิชิตพุง ไว้ให้ยึดปฏิบัติดังนี้


1.กินอาหารสมดุล ควบคุมสัดส่วนปริมาณอาหาร กลุ่มข้าว-แป้ง
วันละ
8-12 ทัพพี ผัก วันละ 4-6 ทัพพี (ไม่หวาน) วันละ 3-5 ส่วน
เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน วันละ
6-10 ช้อนกินข้าว นมพร่องมันเนย วันละ 1-2 แก้ว

2.กินอาหารธรรมชาติไม่แปรรูป เช่น เมล็ดธัญพืชต่างๆ เมล็ดฟักทอง
เมล็ดทานตะวัน งา ถั่วต่างๆ เป็นต้น


3.กินผักและผลไม้รสไม่หวานให้มากพอและครบ 5 สี คือ สีน้ำเงินม่วงแดง
สีเขียว สีขาว สีเหลืองส้ม และสีแดง เพิ่มวิตามิน เกลือแร่ ใยอาหาร
และพฤกษาเคมี สารเม็ดสีในผักผลไม้เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันโรค


4.กินเป็น คือ รู้จักหลีกเลี่ยงอาหารมันจัด หวานจัด และเค็มจัด

5.กินอาหารพออิ่ม ไม่บริโภคจนอิ่มมากเกินไป

6.กินอาหารเช้าทุกวัน มื้อเช้าเป็นมื้อหลักที่สําคัญ

7.กินอาหารมื้อเย็นแต่วัน เวลาสําหรับอาหารมื้อเย็นควรอยู่ห่างอย่างน้อย
4 ชั่วโมง ก่อนนอน


ขอขอบคุณ
ข้อมูลสุขภาพ โรงพยาบาลยันฮี

By http://women.sanook.com/health/know_eat/knoweat_52840.php

ไม่มีความคิดเห็น: